วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายของมลพิษ


มลพิษ (Pollution)
             มลพิษ (Pollution)  หมายถึง สถานการณ์ของสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าพึงพอใจ
    หรือสถานณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายขึ้นได้  เช่น  มลพิษทางอากาศ
    มลพิษทางนํ้า   มลพิษทางเสียง   เป็นต้น





ต้นเหตุของการเกิดมลพิษ


                  เพราะพฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีมากมาย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทุกคนก็คือผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งสิ้น เช่น การทิ้งขยะลงบนท้องถนน การต่อท่อน้ำทิ้งในบ้านลงท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยไม่ผ่านระบบบำบัด การทิ้งของเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง การใช้สารเคมีที่มีพิษในการเกษตรกรรมมากเกินไป การเผาและการตัดไม้ทำลายป่า การทำให้เกิดเสียงดังที่รบกวนและการทิ้งกากของเสียอันตรายสู่สถานที่สาธารณะ เป็นต้น
แต่ทุก ๆ คนคิดไม่ถึงว่าเป็นความผิดของ "ตนเอง" ในวันนี้ประชาชนทุกคน ภาครัฐ และเอกชน ควรมีความรู้สึกร่วมกันในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้คงอยู่อย่างยาวนานสืบไป

เริ่มต้นที่ตัวเรา
1. ใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างที่ไม่มีสารที่ทำลายสภาพน้ำเจือปนอยู่ โดยใช้ผงซักฟอกที่ผสม ZEOLITE ที่มีในการดูแลรักษาน้ำ
2. การซักผ้าด้วยมือควรปิดก๊อกน้ำเมื่อน้ำเต็มภาชนะรองรับหรือซักเครื่อง
3. ควรรวบรวมผ้าให้พอดีกับความสามารถของเครื่องซักผ้าในแต่ละครั้ง เพราะต้องใช้น้ำประมาณ 100-200 ลิตรและจะช่วยประหยัดไฟฟ้า
ไม่ให้สิ้นเปลืองมากจนเกินไป
4. การใช้น้ำประปา ปิดก๊อกให้สนิทหลังการใช้ควรจัดหาภาชนะรองน้ำให้ได้ตามต้องการแล้วจึงนำไปใช้ ซึ่งจะง่ายและประหยัดกว่าการเปิด
น้ำใช้จากก๊อกและสายยางโดยตรง
5. ตรวจและซ่อมแซม ท่อ/ก๊อกน้ำที่ชำรุดเพราะน้ำ 10 หยดใน 1 นาทีนั้นจะรวมกันได้ถึง 3,000 ลิตรในหนึ่งปี
6. การล้างจาน ชาม และภาชนะ ควรรวบรวมให้มีปริมาณมากพอแล้วจึงล้างพร้อมกันในอ่าง ไม่ควรล้างโดยตรงจากก๊อก 7. ควรอาบน้ำ
ด้วยการตักจากภาชนะที่เก็บน้ำได้แทนการอาบจากฝักบัว ซึ่งต้องใช้น้ำครั้งละ 20 ลิตร/คน และไม่นอนแช่ในอ่างอาบน้ำ
8. แปรงฟันหรือโกนหนวดด้วยการใช้แก้ว หรือขันรองน้ำแทนการเปิดน้ำโดยตรงจากก๊อก ซึ่งทำให้เสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ถึง 9 ลิตรต่อนาที
9. การใช้ห้องสุขาด้วยการกดชักโครกเพียงครั้งเดียวจะทำให้เปลืองน้ำมากถึง 15-20 ลิตร จึงควรใช้ระบบขันตักราดหรือใช้อิฐมอญ 2-3 ก้อน
หรือขวดพลาสติกใส่น้ำใส่ไว้ในชักโครกเพื่อแทนที่น้ำ
10. หากบ้านเรือนของท่านตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ควรสร้างส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ทิ้งของเสียในน้ำเพราะจะเป็นที่มาของเชื้อโรค และทำให้น้ำเน่าเสีย
ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ควรเก็บใส่ถังขยะแยกขยะเปียกจำพวกเศษอาหารและขยะแห้งจำพวกเศษกระดาษถุงพลาสติกออกจากกันโดยจัดหาภาชนะ
แยกขยะออกจากกันเพื่อความสะดวกต่อการเก็บขนขยะและการแยกกำจัด
11. ซ่อมแซมสิ่งของหรือเสื้อผ้าสมาชิกในบ้านเมื่อเกิดการชำรุดขึ้นมาแทนที่จะโยนทิ้งหรือไปซื้อใหม่ เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรที่นำมาเป็นวัตถุดิบ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น