วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 






 
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

 แบ่งออกตามโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ได้ 2 แบบ คือ
   1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น (3 Phase Induction Motor)
   2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบซิงโครนัส (3 Phase Synchronous Motor)
 
1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น

มอเตอร์ไฟสลับ 3 ที่มีคุณสมบัติที่ดี คือมีความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบอินดักชั่นมอเตอร์ขึ้นอยู่กับความถี่ (Frequency) ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีราคาถูก โครงสร้างไม่ซับซ้อน สะดวกในการบำรุงรักษาเพราะไม่มีคอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่านหมอนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เมือใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์ (Invertor) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของมอเตอร์ นิยมใช้กันมาก เป็นต้น กำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนลิฟท์ขับเคลื่อนสายพานลำเลียง ขับเคลื่อนเครื่องจักรไฟฟ้า เช่น เครื่องไส เครื่องกลึง มอเตอร์อินดักชั่นมี 2 แบบ แบ่งตามลักษณะตัวหมุนคือ

     1.โรเตอร์
     2. ขดลวดสนามแม่เหล็ก
     3. ขั้วต่อสาย
     4. โครงมอเตอร์
     5. ฝาครอบหัว
     6. ฝาครอบท้าย
     
      
  1.1 อินดักชั่นมอเตอร์ที่มีโรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrel Cage Induction Motor) 
          
               อินดักชั่นมอเตอร์แบบนี้ ตัวโรเตอร์จะมีโครงสร้างแบบกรงกระรอกเหมือนกับโรเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์

รูปโรเตอร์แบบกรงกระรอก

รูปสเตเตอร์ ของอินดักชั่นมอเตอร์

       
1.2 อินดักชั่นมอเตอร์ที่มีโรเตอร์แบบขดลวด (Wound Rotor Induction Motors)

               อินดักชั่นมอเตอร์ชนิดนี้ตัวโรเตอร์จะทำจากเหล็กแผ่นบาง ๆ อัดซ้อนกันเป็นตัวทุ่นคล้าย ๆอาร์เมเจอร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มีร่องสำหรับวางขดลวดของตัวโรเตอร์เป็นขดลวด 3 ชุด สำหรับสร้างขัวแม่เหล็ก 3 เฟส เช่นกันปลายของขดลวดทั้ง 3 ชุดต่อกับสปริง(Slip Ring) จำนวน 3 อันสำหรับเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรทั้ง 3 เฟสการทำงานของอินดักชั่นมอเตอร์
เมื่อจ่ายไฟฟ้าสลับ 3 เฟสให้ที่ขดลวดทั้ง 3 ของตัวสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนรอบ ๆ ตัวสเตเตอร์  ทำให้ตัวหมุน(โรเตอร์) ได้รับการเหนี่ยวนำทำให้เกิดขัวแม่เหล็กที่ตัวโรเตอร์ และขัวแม่เหล็กนี้  จะพยายามดึงดูดกับสนามแม่เหล็กที่หมุนอยู่รอบ ๆ ทำให้มอเตอร์
ของอินดักชั่นมอเตอร์หมุนไปได้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่ตัวสเตเตอร์นี้จะคงที่ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นโรเตอร์ของอินดักชั่น  ของมอเตอร์ จึงหมุนตามสนามหมุนดังกล่าวไปด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุน

                        2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสแบบซิงโครนัสเป็นมอเตอร์ได้ใหญ่ที่สุด
 ซิงโครนัสมอเตอร์เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ทีขนาดพิกัดของกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 150 kW (200 hp) จนถึง 15 MW (20,000 hp) มีความเร็วตั้งแต่ 150 ถึง 1,800 RPM
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสแบบซิงโครนัส (3 Phase Synchronous Motor)
 
 โครงสร้างของซิงโครนัสมอเตอร์ ที่สำคัญมี 2 ส่วนคือ
    1. สเตเตอร์ (Stator)
    2. โรเตอร์ (Rotor)
 

      1. สเตเตอร์ (Stator) ของซิงโครนัสมอเตอร์เหมือนกับสเตเตอร์ของ 3 เฟส
อินดักชั่นมอเตอร์มีร่องสำหรับพันขดลวดจำนวน 3 ชุด เฟสละ1 ชุด เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ให้กับสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้น เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนอินดักชั่นมอเตอร์
 
      2. โรเตอร์ (Rotor) ของซิงโครนัสมอเตอร ์ เป็นแบบขัวแม่เหล็กยื่น (Salient Poles) และมีขดลวดพันข้าง ๆ ขัวแม่เหล็กยื่นเหล่านั้นขดลวดสนามแม่เหล็กที่พันรอบขั้วแม่เหล็กยื่นต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงภายนอก เพื่อสร้างขั้วแม่เหล็กขึ้นที่ตัวโรเตอร์ การทำงานของซิงโครนัสมอเตอร์เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ให้กับสเตเตอร์ของซิงโครนัสมอเตอร์ จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนเนื่องจากตัวหมุน (โรเตอร์) 
ของซิงโครนัสมอเตอร์เป็นแบบขั้วแม่เหล็กยื่น และมีขดลวดสนามแม่เหล็กพันอยู่รอบ ๆโดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสภายนอก เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงให้กับโรเตอรจะทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่โรเตอร์ขึ้น ขั้วแม่เหล็กนี้จะเกาะตามการหมุนของสนามหมุนของสเตเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุนไปด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์

มอเตอร์กระแสตรง      
1.ความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานต่างเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆในงานอุตสาหกรรมมอเตอร์มีหลายแบบหลายชนิดที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานดังนั้นเราจึงต้องทราบถึงความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าตลอดคุณสมบัติการใช้งานของมอเตอร์แต่ละชนิดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของมอเตอร์นั้นๆและสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงานออกแบบระบบประปาหมู่บ้านหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องได้
        1.1ความหมายของมอเตอร์และการจำแนกชนิดของมอเตอร์ 
มอเตอร์ไฟฟ้า (MOTOR) หมายถึงเป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพลังงาน
ไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานกลมีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับและพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง


        1.2ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

 มอเตอร์ไฟฟ้าแบ่งออกตามการใช้ของกระแสไฟฟ้าได้ 2 ชนิดดังนี้
     1.2.1 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์ (A.C. MOTOR) การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบ่งออกได้ดังนี้
          มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น3 ชนิดได้แก่
               1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกิลเฟสมอเตอร์ (A.C. Sing Phase)
               - สปลิทเฟส มอเตอร์( Split-Phase motor)
               - คาปาซิเตอร ์มอเตอร์ (Capacitor motor)
               - รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion-type motor)
               - ยูนิเวอร์แวซลมอเตอร์ (Universal motor)
               - เช็ดเดดโพล มอเตอร์ (Shaded-pole motor)
               2.มอเตอร์ไฟฟ้าสลับชนิด 2 เฟสหรือเรียกว่าทูเฟสมอเตอร์ (A.C.Two phas Motor)
               3.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทีเฟสมอเตอร์ (A.C. Three phase Motor)
     1.2.2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Motor ) หรือเรียกว่าดี.ซี มอเอตร์ (D.C. MOTOR) การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกได้ดังนี้
               มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
               1.มอเตอร์แบบอนุกรมหรือเรียกว่าซีรีส์มอเตอร์ (Series Motor)
               2.มอเตอร์แบบอนุขนานหรือเรียกว่าชันท์มอเตอร์ (Shunt Motor)
               3.มอเตอร์ไฟฟ้าแบบผสมหรือเรียกว่าคอมเปาวด์มอเตอร์ (Compound Motor)

        2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
          มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีเด่นในด้านการปรับความเร็วได้ตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดจนถึงสูงสุด นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลีเอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะหรือให้ เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า เป็นต้นในการศึกษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจึงควรรู้จัก อุปกรณ์ต่าง ๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและเข้าใจถึงหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบต่าง ๆ

        2.1 ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่ส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนดังนี้
            1 ส่วนที่อยู่กับที่หรือที่เรียกว่าสเตเตอร์ (Stator) ประกอบด้วย
  1) เฟรมหรือโยค (Frame Or  Yoke) เป็นโครงภายนอกทำหน้าที่เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็กจากขั้ว
เหนื้อไปขั้วใต้ให้ครบวงจรและยึดส่วนประกอบอื่นๆให้แข็งแรงทำด้วยเหล็กหล่อหรือเหล็กแผ่นหนาม้วนเป็นรูปทรงกระบอก

 

          ขั้วแม่เหล็ก (Pole) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือแกนขั้วแม่เหล็กและขดลวด
ภาพขดลวดพันอยู่รอบขั้วแม่เหล็ก
               ส่วนแรกแกนขั้ว (Pole Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ กั้นด้วยฉนวนประกอบกันเป็นแท่งยึดติดกับเฟรม ส่วนปลายที่ทำเป็นรูปโค้งนั้นเพื่อโค้งรับรูปกลมของตัวโรเตอร์เรียกว่าขั้วแม่เหล็ก (Pole Shoes) มีวัตถุประสงค์ให้ขั้วแม่เหล็กและโรเตอร์ใกล้ชิดกันมากที่สุดเพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุดจะมีผลให้เส้นแรงแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็กผ่านไปยังโรเตอร์มากที่สุดแล้วทำให้เกิดแรงบิดหรือกำลังบิดของโรเตอร์มากเป็นการทำให้มอเตอร์ ์์มีกำลังหมุน (Torque)
 


ลักษณะของขั้วแม่เหล็ก
               ส่วนที่สอง ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Coil) จะพันอยู่รอบๆแกนขั้วแม่เหล็กขดลวดนี้ทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอกเพื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กให้เกิดขึ้น และเส้นแรงแม่เหล็กนี้จะเกิดการหักล้างและเสริมกันกับสนามแม่เหล็กของอาเมเจอร์ทำให้เกิดแรงบิดขึ้น

        2 ตัวหมุน (Rotor) ตัวหมุนหรือเรียกว่าโรเตอร์ตัวหมุนนี้ทำให้เกิดกำลังงานมีแกนวางอยู่ในตลับลูกปืน (Ball Bearing) ซึ่งประกอบอยู่ในแผ่นปิดหัวท้าย (End Plate) ของมอเตอร์
 
ตัวโรเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.แกนเพลา (Shaft)
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core)
3.คอมมิวเตอร์ (Commutator)
4. ขอลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Widing)
 
1.แกนเพลา (Shaft) เป็นตัวสำหรับยืดคอมมิวเตเตอร์ และยึดแกนเหล็กอาร์มาเจอร์  (Armature Croe) ประกอบเป็นตัวโรเตอร์แกนเพลานี้จะวางอยู่บนแบริ่ง เพื่อบังคับให้หมุนอยู่ในแนวนิ่งไม่มีการสั่นสะเทือนได้
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอาบฉนวน  (Laminated Sheet Steel) เป็นที่สำหรับพันขดลวดอาร์มาเจอร์ซึ่งสร้างแรงบิด (Torque)
3. คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) ทำด้วยทองแดงออกแบบเป็นซี่แต่ละซี่มีฉนวนไมก้า (mica) คั่นระหว่างซี่ของคอมมิวเตเตอร์ ส่วนหัวซี่ของคอมมิวเตเตอร์ จะมีร่องสำหรับใส่ปลายสาย ของขดลวดอาร์มาเจอร์ ตัวคอมมิวเตเตอร์นี้อัดแน่นติดกับแกนเพลา เป็นรูปกลมทรงกระบอก มีหน้าที่สัมผัสกับแปรงถ่าน (Carbon Brushes) เพื่อรับกระแสจากสายป้อนเข้าไปยัง ขดลวดอาร์มาเจอร์เพื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วนหนึ่งให้เกิดการหักล้างและเสริมกันกับเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วน ซึ่งเกิดจากขดลวดขั้วแม่เหล็ก ดังกล่าวมาแล้วเรียกว่าปฏิกิริยามอเตอร์ (Motor action)
4. ขดลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) เป็นขดลวดพันอยู่ในร่องสลอท (Slot) ของแกนอาร์มาเจอร์ ขนาดของลวดจะเล็กหรือใหญ่และจำนวนรอบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบของตัวโรเตอร์ชนิดนั้นๆ เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับงานต่างๆ ที่ต้องการ ควรศึกษาต่อไปในเรื่องการพันอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) ในโอกาสต่อไป

แปรงถ่าน (Brushes)

 แปรงถ่าน
   
                     ซองแปรงถ่าน                    
                ทำด้วยคาร์บอนมีรูปร่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าุ่ในซองแปรงมีสปิงกดอยู่ด้านบนเพื่อให้ถ่านนี้สัมผัสกับซี่คอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรับกระแส และส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างขดลวดอาร์มาเจอร์ กับวงจรไฟฟ้าจากภายนอก คือถ้าเป็นมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรงจะทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอกเข้าไปยังคอมมิวเตเตอร ์ให้ลวดอาร์มาเจอร์เกดแรงบิดทำให้มอเตอร์หมุนได้

        2.2 หลักการของมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรง (Motor Action)
               หลักการของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Motor Action) เมื่อเป็นแรงดันกระแสไฟฟ้าตรงเข้าไปในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะ แปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น จะเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกัน ตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็ก จะไม่ตัดกันทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกัน และทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์ ซึ่งวางแกนเพลาและแกนเพลานี้ สวมอยู่กับตลับลุกปืนของมอเตอร์ ทำให้อาร์มาเจอร์นี้หมุนได้ ขณะที่ตัวอาร์มาเจอร์ทำหน้าที่หมุนได้นี้เรียกว่า โรเตอร์ (Rotor) ซึ่งหมายความว่าตัวหมุน การที่อำนาจเส้นแรงแม่เหล็กทั้งสองมีปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้ขดลวดอาร์มาเจอร์ หรือโรเตอร์หมุนไปนั้นเป็นไปตามกฎซ้ายของเฟลมมิ่ง (Fleming’left hand rule)
การแบ่งประเภทของมอเตอร์

การแบ่งประเภทของมอเตอร์ไฟฟ้า มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของมอเตอร์ 6 ประเภท ด้วยกันคือ

1. แบ่งตามพิกัดแรงม้า ได้แก่
1.1 Integral horsepower หมายถึง มอเตอร์ที่มีพิกัดแรงม้าตั้งแต่ 1.5 แรงม้าขึ้นไป
1.2 Fractional horsepower หมายถึง มอเตอร์ที่มีพิกัดแรงม้าตั้งแต่ 0.25 แรงม้าจนถึง 1 แรงม้า


2. แบ่งตามชนิดของความเร็วรอบ ได้แก่
2.1 มอเตอร์ชนิดความเร็วรอบคงที่ (Constant speed motor)
2.2 มอเตอร์ชนิดความเร็วรอบเปลี่ยนแปลงตามสภวะโหลด (Variable speed motor) เช่น Serie motor
2.3 มอเตอร์ชนิดปรับความเร็วรอบได้ (Adjustable speed motor)

3. แบ่งตามสภาวะของแรงบิด (Torque) ได้แก่
3.1 มอเตอร์ชนิดแรงบิดคงที่ (Constant torque motor)
3.2 มอเตอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงแรงบิดได้ (Variable torque motor) ได้แก่ Wound rotor motor

4. แบ่งตามชนิดของแหล่งจ่ายกำลัง (Power supply) ได้แก่
4.1 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC motor)
4.2 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC motor)

5. แบ่งตามจำนวนเฟส (Phase) ของแหล่งจ่ายกำลัง ได้แก่
5.1 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส (AC polyphase motor)
5.2 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียว (AC single phase motor)

6. แบ่งตามวิธีการสร้างแรงบิด (Torque production) ได้แก่
6.1 มอเตอร์แบบเหนี่ยวนำ (Induction motor)
6.2 มอเตอร์แบบซิงโครนัส (Synchronous motor)

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555




Preferred Position

Position                Engineering

Expected Salary:     25,000    Bath.  



Name:               Mr.Adipong Beedillah
Address:           19/151  T.Cokeprice,NongcChok,Bangkok,10530
Blogger:            www.Adipong-yibee54.blogger.com
Data of Birth:   August 8 , 1989
Age:                  23 years
Sex:                   male
Height:              170
Weight:             48
Netionality:       Thai
Marital Status:   Single
Religion:            Islam
Health:               Excellent
Place of Birth:   Bangkok
Hobbies:            Football


Education Background
- At present I am  graduated Bachelpr's degree in Electrical Engineering at Rajabhat RaJanagarindra University
- 1993-1999 Education,College of  Technology New York Metropolitan Waste and Integrated Governance.
- 1990-1992 A Study of junior high school. Suankularb County College. 
- 1983-1989 Primary education.Islam Lam Sai school.


Company Name
  PM.BD.SUPPLY Limited Partnership.


Position
  Technician

Jod Responsibility: Fix and repair a washing maching, dryer and steamironing.Can a washing, industrial systems.


Skills
Microsoft Office(Word,Excel,PorewPoint and OutlooK),Internet And E-mail,
  
มนุษย์สัมพันธ์

บุคคลทุกคนมักต้องมีกลุ่มมีพวก ตัวอย่างกลุ่ม หรือพวกของกลุ่มบุคคล เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง ทีมงาน สมาคม ชมรม ผู้ทำงานใน หน่วยงาน เดียวกัน หรือแม้กระทั่ง การทำงานในองค์การธุรกิจก็จัดว่า เป็นกลุ่ม หรือพวกประเภทหนึ่ง ประกอบด้วย คนจำนวนมาก มาอยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกันในบทบาทหน้าที่ต่างๆ กันไป ซึ่งแต่ละคน มักมีเพื่อนฝูงร่วมงาน ทั้งที่อยู่ใน ระดับที่เหนือกว่า เท่ากัน และเพื่อนร่วมงานที่ต่ำกว่า ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด บุคคลเหล่านี้ต้องทำงานเกี่ยวข้อง และติดต่อสัมพันธ์กัน 

ถ้าหากบรรยากาศ ของความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี มักส่งผลให้บุคคลนั้นเป็นสุข เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความสุขส่วนใหญ่ ของชีวิตจึงมักขึ้นอยู่กับ มนุษยสัมพันธ์ ทั้งในแง่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเพื่อให้มีความสุข ในการอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น


ความหมายของมนุษยสัมพันธ
มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้
อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม ดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคม ระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )

ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 


มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ หรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )


มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหา เพื่อทำความเข้าใจ โดยการใช้ลักษณะรูปแบบการ ติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลเป็นผล ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์การ ของแต่ละบุคคล ที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง ( 2544: 99)

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กร David, Keith.1977

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่ง ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดี และให้ความ ร่วมมือร่วมใจ ทำงานด้วยความเต็มใจ

มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คน และกลุ่มคน มาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจน สามารถ ทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยการทำงาน เพื่อส่วนรวมนี้จะเป็น กระบวนการกลุ่มที่ทำงาน
ร่วมกันด้วย ความเต็มใจ เต็มความสามารถ

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงาน และความสามารถ ทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข


บุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ ของแต่ละคนจะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจาก คนอื่น และมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะประกอบกัน ทำให้คนแต่ละคนมี บุคลิกภาพ เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นผลมาจาก การทำงานประสานกันของ สมอง ที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และประสบการณ์ ที่ได้รับจาก สิ่งแวดล้อม
บุคลิกภาพ มีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง

คำว่า "บุคลิกภาพ" (personality) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่บ่งบอกความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังต่อไปนี้


เออร์เนส อาร์.ฮิลการ์ด (Hilgard 1962:447) กล่าวว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคล และการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็น ปัจเจกบุคคล ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลักษณะที่ส่งผลสู่การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตนเอง ความสามารถ แรงจูงใจ ปฏิกิริยาในการเกิดอารมณ์ และลักษณะนิสัยที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิต

ฟิลลิป จี.ซิมบาร์โด และฟลอยด์ แอล.รูช (Zimbardo and Ruch 1980:292) อธิบายว่า บุคลิกภาพ เป็นผลรวมของลักษณะ เชิงจิตวิทยาของบุคคล แต่ละคน มีผลต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหลากหลายของบุคคลนั้น ทั้งส่วนที่เป็นลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ง่ายและพฤติกรรมภายในที่สังเกตได้ยาก ลักษณะที่หลากหลายดังกล่าว ส่งผลให้บุคคลแสดงออก ต่างกันใน แต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา

ริชาร์ด ซี.บุทซิน และคณะ (Bootzin and others 1991:502) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะนิสัยและรูปแบบของความคิด ความรู้สึก และการประพฤติปฏิบัติของบุคคลแต่ละคน

อัลชลี แจ่มเจริญ (2530:163) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งหมด ที่แสดงออกมาปรากฎ ให้คนอื่นได้รู้ได้เห็น ซึ่งแตกต่างกันเพราะภาวะสิ่งแวดล้อมที่สร้างตัวบุคคลนั้นแตกต่างกันประการหนึ่ง และพันธุกรรม ที่แต่ละบุคคล ได้มาก็แตกต่างกัน ไปอีกประการหนึ่ง

จากคำจำกัดความและความหมายของ "บุคลิกภาพ" ที่กล่าวมา สรุปได้ว่า บุคลิกภาพ คือตัวบุคคลโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะทางกาย ซึ่งสังเกตได้ง่าย อันได้แก่รูปร่างหน้าตากิริยาท่าทาง น้ำเสียง คำพูด ความสามารถทางสมอง ทักษะการทำกิจกรรมต่างๆ และลักษณะทางจิต ซึ่งสังเกตได้ค่อนข้างยาก ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ ความมุ่งหวัง อุดมคติ เป้าหมาย และความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ลักษณะดังกล่าวมีที่มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน ส่งผลสู่ความสามารถในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล

จากความหมายของ บุคลิกภาพ ดังกล่าว เมื่อนำมาวิเคราะห์ให้สัมพันธ์กับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ โดยพิจารณา บุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน จะพบว่าทุกลักษณะของ บุคลิกภาพ มีอิทธิพลต่อผล การดำเนินงาน โดยมีอิทธิพลมากบ้างน้อยบ้าง จึงอาจให้ความหมายของ บุคลิกภาพ เชิงอุตสาหกรรมได้ว่า เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ของการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการใน งานอุตสาหกรรม

ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพ อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และ ความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็น ความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะ รู้ตัวเอง หรือ รู้พฤติกรรมของเราเอง ได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่า เรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับ สิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะ ควบคุมพฤติกรรม ของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถ ที่จะจัดการและ ควบคุมชีวิต เรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy) คนที่มีประสิทธิภาพ ส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจใน การมีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำ จะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัวและประสิทธิภาพส่วนตัวน ี้เองจะรวมกันเป็น บุคลิกภาพ ขึ้น

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมาก ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า "อีโก้ (Ego)" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ บุคลิกภาพ ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับอำนาจภายในร่างกาย หรือความต้องการ ความปรารถนาของคนคนนั้น ซึ่งอาจจะเป็นความเห็นแก่ตัว (id) กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความจริงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก จริยธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล (superego) และเมื่อมีการชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัย 2 ปัจจัยนี้แล้วก็จะเกิดการตัดสินใจขึ้น

คำถามคือ บุคลิกภาพ เกิดจากอะไร มาจากไหน นักทำนาย บุคลิกภาพ ฟรานซ์ โจเซฟ กอลล์ (Franze Joseph Gall) ได้ให้ทฤษฎีว่า รอยหยักบนพื้นผิวสมองนั่นเองเป็นตัวกำหนด บุคลิกภาพ เพราะส่วนนี้ทำให้เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อวิธีคิด ความรู้สึกและการกระทำของเรา



สมอง Brain











สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง ออกเป็น 3 ส่วน ตามวิวัฒนาการของสมอง

สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ ซึ่ง ดร.ไพรบรัม แนะนำว่า เราควรจะเรียก เรปทิเลียนเบรน หรือ สมอง ของ สัตว์เลื้อยคลาน ว่า คอร์เบรน (Core brain) หรือแกนหลัก ของ สมอง คือ สมอง ที่อยู่ที่ แกนสมอง หรือ ก้านสมอง นั่นเอง มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อ ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย

สมอง ส่วนที่สองเรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบ ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น ทําให้คนเรา มีความสามารถใน การปรับตัว ปรับ พฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากมี สิ่งกระตุ้น ที่ไม่ดีเข้ามา สมอง ส่วนนี้จะ แปลข้อมูล ออกมาเป็น ความเครียด หรือไม่มีความสุข

สมองส่วนที่สามเรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้



สมอง
องค์ความรู้กับการพัฒนาตน



        ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของ เทคโนโลยี การสื่อสาร สภาพเศรษฐกิจ และ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มีการส่งถ่ายถึงกันและกันเร็วขึ้น และจากการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นี้เองจึงเป็นเสมือน พลังผลักดัน ให้คนแต่ละคน ต่างต้องตระหนักถึง ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง อันทำให้เกิดการ พัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อให้ตนมี ความพร้อมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

             ผู้ที่พัฒนาตนเอง ย่อมเป็นบุคคลที่ ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน ได้รับความก้าวหน้าใน สายอาชีพ ได้รับคำยกย่อง สรรเสริญมากกว่า ผู้ที่ทำงานอยู่ไปวัน ๆ โดยไม่สนใจที่จะ พัฒนา ความรู้และความสามารถของตนเอง ชอบทำงาน ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้างานเท่านั้น
             
           ดังนั้นหากคุณมีความอยาก และต้องการที่จะ ประสบผลสำเร็จในชีวิต คุณไม่ควรรอให้หัวหน้างาน องค์การ หรือผู้อื่นมาพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของคุณเองในการทำงานเท่านั้น การเริ่มต้นที่จะ พัฒนาตนเอง โดยไม่พึ่งพาผู้อื่น เป็นสิ่งที่คุณควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง คุณต้องตระหนักอยู่เสมอว่า " ชีวิตคุณ คุณเป็นผู้เลือกที่จะลิขิตหรือ เลือกเส้นทางใน การดำเนินชีวิตเอง " คุณอย่าปล่อยให้ผู้อื่นมาเป็น ผู้มีอิทธิพล และ ชี้นำ การดำเนินชีวิต ของตัวคุณ


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

 การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม                      


                     การมีชีวิตของเราทุกคนบนโลกนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เกิดเองโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อันได้แก่ ระบบสังคมและวัฒนธรรมสำหรับเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมอยู่ตรงที่ว่าได้เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นผิวโลกที่มวลชีวิตอาศัยอยู่ ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาถึงความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมของเราบนโลกที่เราอาศัยอยู่ เราก็จะพบว่าบริเวณที่เราอาศัยอยู่นี้เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเกื้อหนุนให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ตลอดมา แต่ในปัจจุบันนี้กลับได้ปรากฎว่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติได้ลดน้อยลงจนน่าวิตก และทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราก็ได้ตกอยู่ในสภาพของความเสื่อมโทรมจนเห็นชัด ซึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติก็คือ มนุษย์เรานี่เอง สาเหตุประการสำคัญก็คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกซึ่งได้นำไปสู่ปัญหาการขยายตัวของเมืองและกิจการทางด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนการคิดค้นนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้โดยขาดการศึกษาถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลก็คือ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่เกิดใหม่ไม่ได้ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน และที่เกิดใหม่ได้ เช่น ต้นไม้ สัตว์ ก็เกิดไม่ทันกับการบริโภคของคนและโรงงานอุตสาหกรรม ร่อยหรอและขาดแคลนลงทุกที ขณะเดียวกันเมื่อทั้งคนและโรงงานอุตสาหกรรมได้บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้มีการปล่อยทิ้งของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ผลก็คือทำให้น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ และดินเสื่อม ในสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องช่วยกันปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเอาไว้ เพราะถ้ายังกระทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างที่เป็นอยู่แล้ว แม้วันนี้เราจะได้ประโยชน์ แต่ผลที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมก็คือ ความเสื่อมโทรมร่อยหรอ ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้า ผลจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมก็จะกลับมีผลกระทบกับตัวเราเอง ซึ่งถ้าปล่อยให้ถึงวันนั้นแล้วทุกอย่างก็จะสายเกินไปที่จะทำการแก้ไขปรับปรุงได้ ดังนั้นการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องรับผิดชอบ เพื่อตัวเราและประเทศชาติ รักษาไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ การฝึกนิสัยตัวเองเสียตั้งแต่ต้นในวันนี้ โดยการดำรงชีวิตให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายตามความเหมาะสม ไม่ใช่อยู่อย่างฟุ่มเฟื่อย หากเราทุกคนต่างรับผิดชอบต่อตัวเองได้แล้วก็ไม่เป็นการยากอะไรเลยที่จะทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมฟื้นสภาพ จากความเสื่อมโทรมขึ้นมาได้และการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะให้ได้ผลที่ดีที่สุดนั้น ความสำคัญขึ้นอยู่กับการศึกษาและเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบกับอนาคตของประเทศชาติต่อไป เพราะฉะนั้นการได้เรียนรู้ตั้งแต่ในเยาว์จะทำให้สามารถเข้าใจและมีค่านิยมที่ถูกต้องได้ แม้จะต้องใช้เวลาก็ไม่ได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใดเพราะการสร้างพื้นฐานและเปลี่ยนค่านิยมที่ถูกต้องให้กับสังคมนั้น เวลาและความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเยาวชนทุกคนของเราได้เริ่มต้นรับผิดชอบอย่างจริงจังแล้วในวันนี้ อนาคตที่ไม่ไกลของทิศทางของสังคมคือสิ่งที่จะช่วยให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป